เมนู

ความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า ทาน
ที่ให้แล้ว ไม่มีผล. มิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก
เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง)
ชื่อว่ามีโทษน้อย ที่แน่นอน ( ดิ่ง ) ชื่อว่ามีโทษมาก.
มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การที่เรื่องผิดไป
จากอาการที่ยึดถือ 1 การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยไม่เป็นอย่างที่
มิจฉาทิฏฐิกบุคคลยึดถือ 1.

วินิจฉัยโดยอาการ 5 อย่าง


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถทั้ง 10 เหล่านี้ โดยอาการ
5 อย่าง คือ โดยธรรมะ ( ธมฺมโต) 1 โดยโกฏฐาสะ (โกฏฺฐาสโต) 1
โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) 1 โดยเวทนา (เวทนาโต) 1 โดยเค้ามูล
(มูลโต) 1.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต มีเนื้อความว่า ความจริงใน
จำนวนกรรมบถ 10 อย่างเหล่านี้ กรรมบถ 7 ข้อ ตามลำดับ (กาย-
กรรม 3 วจีกรรม 4 ) เป็นเจตนาธรรมตรงตัว ส่วนกรรมบถ 3 อย่าง
มีอภิชฌา เป็นต้น เป็นตัวประกอบเจตนา.
บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า กรรมบถ 7 ข้อตามลำดับ และ
มิจฉาทิฏฐิอีก 1 รวมเป็น 8 ข้อนี้ เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล
(รากเหง้าของอกุศล) ส่วนอภิชฌากับพยาบาท (2 ข้อนี้) เป็นทั้ง
กรรมบถ เป็นทั้งมูล (รากเหง้าของอกุศล). อธิบายว่า เพราะเป็น

รากเหง้า อภิชฌาจึงเป็นโลภกุศลมูล พยาบาทเป็นโทสอกุศลมูล.
บทว่า อารมฺมณโต ความว่า ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์
เพราะมีชีตินทรีย์เป็นอารมณ์ อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มี
สังขารเป็นอารมณ์บ้าง มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่ง
โผฏฐัพพะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี. มุสาวาท
มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน
ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็นอารมณ์
บ้าง ด้วยอำนาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือน
กัน (แต่ ) พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิ
มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3.
บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาต มีเวทนาเป็นทุกข์. เพราะ
ว่า พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว ถึงจะทรงกระหยิ่มอยู่พลางรับสั่ง
ว่า ไป เอามันไปสังหาร ดังนี้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เจตนาที่เป็นตัวการ
ให้ตกลงปลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้น เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์
อยู่นั้น.
อทินนาทาน มีเวทนา 3. มิจฉาจาร มีเวทนา 2 ด้วยอำนาจ
แห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา ใน
เพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา 3. ปิสุณาวาจา
ก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะ มี
เวทนา 3. อภิชฌามีเวทนา 2 ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขา-
เวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่) พยาบาท มีเวทนาเป็นทุกข์.

แก้อกุศลมูล


บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีอกุศล 2 อย่างเป็นมูล
ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ. อทินนาทาน (มีอกุศล 2 อย่างเป็น
มูล ) ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ หรือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ
มิจฉาจาร (มีอกุศล 2 อย่างเป็นมูล ) ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ.
มุสาวาท ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. ปิสุณาวาจา
และสัมผัปปลาปะก็เหมือนกัน (กับมุสาวาท). ผรุสวาจา ด้วยอำนาจ
แห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌา มีอกุศลอย่างเดียวเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่ง
โมหะ. พยาบาทก็เหมือนกัน (กับอภิชฌา). ( แต่ ) มิจฉาทิฏฐิ มีอกุศล
2 อย่างเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ ดังนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า โลโภ อกุสลมูลํ เป็นต้น (ดังต่อไปนี้)
อกุศลธรรม ชื่อว่าโลภะ เพราะอยากได้. ชื่อว่าโทสะ เพราะ
ประทุษร้าย. ชื่อว่าโมหะ เพราะหลง.
ในจำนวนอกุศลธรรมทั้ง 3 อย่างเหล่านั้น โลภะ ชื่อว่าเป็นอกุศล -
มูล เพราะตัวมันเองเป็นทั้งอกุศล เพราะอรรถว่า มีโทษและมีทุกข์เป็น
วิบาก เป็นทั้งรากเหง้าของอกุศลธรรมเหล่านี้ มีปาณาติบาตเป็นต้น
เพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรมของอกุศลลางเหล่า และเพราะ
อรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัยของอกุศลธรรมลางอย่าง. สมจริงตามคำ
ที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณ ผู้กำหนัดมากแล้ว ถูกราคะครอบงำ
แล้ว มีจิตถูกราคะรึงรัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์มีชีวิตได้ ดังนี้เป็นต้น แม้ใน
การที่โทสะและโมหะเป็นอกุศลมูล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.